“เด็กติดเกม” สู่นักธุรกิจ “eSports” เดอะดรีมแคสเตอร์
เดอะดรีมแคสเตอร์ “เด็กติดเกม” สู่นักธุรกิจ “eSports”
“เด็กติดเกม” สู่นักธุรกิจ “eSports” “ธนะกฤษฏิ์ วิริยะวรารักษ์” General Manager จากบริษัท “เดอะดรีมแคสเตอร์” (The Dreamcasters) ผู้ให้บริการในธุรกิจอีสปอร์ตอย่างครบวงจร10 ปีที่แล้ว เป็นเด็กติดเกม ชอบดูการแข่งขัน ได้ฟังพากย์แข่งของต่างประเทศแล้วสนุก แต่ในไทยไม่ค่อยมี เลยร่วมกับเพื่อนจัดพากย์เกมตามเน็ตคาเฟ่สนุก ๆ
บางงานพากย์ทั้งวันได้หลักร้อย จน 3 ปีที่แล้วเปิดแชนเนลบนยูทูบ มีคนจากมาเลเซียและสิงคโปร์มาเทกโอเวอร์คอยป้อนงาน พัฒนาระบบลงทุนอุปกรณ์ งานเริ่มขยาย ตอนนี้มีทีมงานสิบกว่าคน เป็นนักพากย์ streamer ดูคอนเทนต์ จัดแข่ง เป็น one stop service
นักพากย์เกมในไทย ยังขาดอยู่เยอะ มีแค่หลักร้อยในอินโดนีเซียมีหลายร้อยคน ในต่างประเทศนักพากย์จะมีฐานแฟนเบส จนมั่นคง แต่ในไทยคนเล่นเกมพีซียังน้อย เพิ่งจะบูมเกมมือถือ นักพากย์ในไทยจึงต้องพากย์ได้หลายเกม จะมีรายได้สม่ำเสมอ
ต้องแยกว่า streamer กับนักพากย์ต่างกัน streamer คือ นักเล่นเกมที่เล่นไปคุยไป ข้อมูลไม่ต้องเป๊ะมากเน้นสนุก ซึ่งตอนนี้มีเยอะมากเพราะมีแพลตฟอร์มอย่าง twitch youtube แต่นักพากย์ต้องเตรียมตัวเยอะ ต้องมีโทนเสียง จังหวะการพูด ซึ่งนักพากย์บางคนเป็น streamer ที่ฝึกฝนขึ้นมาหรือไม่เคยเป็น streamer แต่มีความรู้เรื่องเกม
ปีนี้พัฒนาขึ้นมาเยอะ ต่างจาก 10 ปีก่อนที่ทำเป็นอาชีพไม่ได้ แต่ 2-3 ปีนี้สามารถทำเงินได้เพราะมีคนดูเยอะขึ้น นักพากย์มีเงินเดือนอย่างน้อย 20,000 บาท สำหรับพากย์เกมที่ถ่ายทอดสด ยังไม่รวมพากย์งานนอกที่ได้ประมาณวันละ 5,000-10,000 บาท แต่พอทุกอย่างมันกว้างขึ้น ก็ต้องเตรียมข้อมูลมาเผื่อคนที่ยังไม่เคยดูหรือปรับคำพูดให้เหมาะ
ภาษายังเป็นข้อจำกัด เพราะนักพากย์ไทยถึงจะดังแค่ไหนก็อยู่แค่ในไทยแต่ในอาเซียนบางคนพากย์เป็นภาษาอังกฤษ มีแฟนคลับก้าวไปดังระดับโลกได้ ดังนั้น ในออฟฟิศก็ต้องปั้นให้พากย์เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ง่าย อีกอย่างคือความต่อเนื่องในการแข่งขันที่มีน้อย ขาดคนที่จะมาลงทุนทำให้เป็นระบบ เป็นลีกขึ้นมา ส่วนใหญ่เราก็วิ่งหาสปอนเซอร์
ecosystem ของ eSports มีอีกเยอะ เช่น marketing ที่จะคอยดูเรื่องการเจาะกลุ่มผู้บริโภค สำหรับแบรนด์ที่ต้องการทำมาร์เก็ตติ้งผ่านอีสปอร์ตมี tournaments specialist ที่คอยจัด แข่ง มีทีม organize tourna-ments มีทีม production คอยทำกราฟิกขึ้น score มีทีมบรอดแคสต์ทำถ่ายทอดสด ซึ่งในไทยยังขาดบุคลากรทุกด้าน พอจะจัดทัวร์ใหญ่จึงต้องร่วมกันหลายบริษัท
ซึ่งในไทยมีบริษัททำอีสปอร์ตครบวงจรแค่ 6 รายก็จะคอยช่วยกันเพราะคนไม่พอ ยิ่งถ้าเทียบในอาเซียนหลายประเทศเขานำไปแล้ว อย่างมาเลเซียได้จัดการแข่งขันใหญ่มากและมีทีมนักกีฬาที่ไปในระดับโลกได้ มีอะคาเดมีฝึกสอน ของไทยเพิ่งเริ่ม อินโดนีเซียก็ไปแล้ว ที่เกาหลีใต้ก็พัฒนาผู้เล่นได้ดีที่สุดในโลก ส่งก็ไปเล่นให้กับ eSports ในยุโรป อเมริกา แต่นักกีฬาไทยก็พร้อมแล้ว
เมื่อก่อนมุมมองของผู้ใหญ่กับเกมนั้นแย่มาก แต่ตอนนี้ดีขึ้น มีข่าวผู้เล่นเกมประสบความสำเร็จ เห็นทางสู่อาชีพ ซึ่งช่วงพีกของนักกีฬาจะอายุไม่เกิน 30 แต่ก็ผันตัวไปเป็นผู้ฝึกสอนได้ streamer ผันตัวไปทำทอล์กโชว์ได้ ถ้าพากย์แล้วมีความรู้ด้าน tournaments specialist ก็ไปจัดแข่งได้ คือผันตัวไปทำงานเบื้องหลังได้ แต่ต้องรู้ลึกรู้จริง
ภาครัฐประกาศให้ eSports เป็นกีฬาแต่ยังไม่เห็นความชัดเจน หลัก ๆ มีเอกชนกับสปอนเซอร์ในวงการที่คอยผลักดัน ส่วนหลักสูตร eSports ในมหาวิทยาลัยมองว่าเรียน 4 ปีมันนานไป ควรจะมีเป็นอะคาเดมี สำหรับเทรนนักกีฬาและเปิดหลักสูตรที่เน้นการทำงานหลังบ้าน เช่น โปรดักชั่น เพราะ eSports ไม่ได้มีแค่แข่งขัน ซึ่งบ้านเราถ้าเทียบประเทศอื่นยังประเมินไม่ได้ว่าจะตามเขาทันเมื่อไร เพราะเทคโนโลยีอัพเดตตลอดเวลา
ทุกวันนี้เราลงทุนซื้อลิขสิทธิ์เกมมาพากย์และจัดแข่งขันแต่ละปีเป็นหลักร้อยล้านบาท มีรายได้จากการจ้างจัดแข่งขัน การพากย์และสปอนเซอร์รวมกันเป็นหลักสิบล้านบาท ซึ่งยังไม่คืนทุน แล้วเราก็มีแผนจะขยายสตูดิโอรวมทั้งทำอีสปอร์ตอารีน่า
เพราะในไทยยังมีไม่เยอะและเล็กเมื่อเทียบกับต่างประเทศ แม้ตอนนี้รายได้เราจะยังไม่มากเท่าเงินลงทุน แต่เชื่อว่าจะคืนทุนและทำกำไรได้ใน 2 ปีนี้ เพราะเกมเป็นเทรนด์ใหญ่ระดับโลกไปแล้ว eSports เป็นเหมือนการทำมาร์เก็ตติ้งชนิดหนึ่ง ซึ่งแบรนด์ระดับโลกต่างก็มาลงทุนในนี้หมด
https://www.prachachat.net/ict/news-209963
เว็บไซต์ข่าวเกม ข่าวความเคลื่อนไหววงการเกม ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์ม ทั้งเกมออนไลน์ และ ออฟไลน์ ทั้ง PC และเกมมือถือ รีวิวเกม แนะนำเกมน่าเล่น พร้อมคู่มือการเล่น สูตรเกมอีกมากมาย การแข่งขันเกม E-sport แบบเจาะลึก ต้องที่นี่ inwesport